วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันคริสต์มาส





      ช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาลที่สำคัญเทศกาลหนึ่งของชาวคริสต์ เทศกาลสำคัญที่ว่านี้คือ เทศกาลคริสต์มาส ซึ่งเป็นเทศกาลฉลองการประสูติของพระคริสต์เทศกาลคริสต์มาสจะจัดขึ้นในวันที่ 24 และ 25 ธันวาคมของทุกปี ในบางประเทศคริสต์มาสอาจจะเริ่มก่อนหน้านั้นประมาณหนึ่งเดือน ช่วงเวลานี้เรียกว่า "แอดเวนท์" (มาจากภาษาลาติน แปลว่า "กำลังมา") และจะสิ้นสุดลงในวันที่ 6 มกราคมซึ่งเป็นวันที่นักปราชญ์สามคนที่มาจากทิศตะวันออกนำของขวัญมามอบแก่พระกุมารเยชู ด้วยเหตุนี้ในคืนวันที่ 6 มกราคม จึงเป็นคืนแห่งการมอบของขวัญในหลาย ๆ แห่งของโลก และเมื่อวันคริสต์มาสอันเป็นวัดสุดยอดของเทศกาลมาถึง การเฉลิมฉลองก็จะเริ่มขึ้น ในช่วงเทศกาลนี้บ้านเรือนจะถูกตกแต่งให้สดใสอบอุ่นด้วยต้นคริสต์มาสที่ประดับประดาเอาไว้อย่าง สวยงาม ที่ใต้ต้นคริสต์มาสจะมีของขวัญวางเรียงไว้มากมาย ประตูบ้านและขอบเตาผิงจะถูกตกแต่งด้วยหรีดกิ่งสนและฮอลลีในเดนมาร์กมีการประดับกิ่งเบริร์ชด้วยผลแอปเปิ้ลสีแดงผลเล็ก ๆ และคนแคระตังจิ๋วที่เรียกว่า "พิสเชอร์" ในนอรเวและสวีเดนมีการทำสัตว์ตัวเล็ก ๆ จากฟางแล้วผูกด้วยริบบิ้นสีแดง  เมื่อพูดถึงอาหารในวันคริสต์มาสจะมีอาหารพิเศษมากมายทั้งไก่งวงที่แสนอร่อย เนื้ออบก้อนโตซอสแครนเบอร์รรี ขนมพาย พุดดิง เค้กและคุกกี้เป็นร้อย ๆชนิด ที่ฝรั่งเศษมีการทำเค้กพิเศษเป็นรูปขอนไม้รสชาติเข้มข้นที่เรียกว่า บุช เดอ โนแอล (ขอยไม้คริสต์มาส)และหลังจากอาหารค่ำที่แสนวิเศษผ่านไปนาทีอันน่าระทึกใจก็มาถึงนั่นก็คือการแกะของขวัญนั่นเอง คริสต์มาสเป็นเทศกาลแห่งความสุขที่มีเรื่องให้พูดถึงไม่รู้เบื่อ สำหรับใครก็ตามที่กำลังจะฉลองเทศกาลนี้ก็ขอให้มีความสุขมาก  
     ทุกวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี จะมีการฉลองรื่นเริงในหมู่คริสต์ศาสนิกชนทั่วโลก กิจกรรมในวันนี้มีแต่สิ่งที่น่ารื่นรมย์ไม่ว่าจะเป็นการกินเลี้ยง แลกของขวัญ แต่งบ้านด้วยต้นคริสต์มาส ร้องเพลงคริสต์มาส ไปจนถึงเอาถุงเท้าไปแขวนรอซันตาคลอสผู้อารีย์นำของขวัญมาใส่ไว้ให้ 
     วันคริสต์มาสมีความสำคัญคือ เป็นวันประสูติของพระเยซู ศาสดาของศาสนาคริสต์ พระเยซูเป็นชาวยิว ประสูติในประเทศปาเลสไตน์ ซึ่งเดิมตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใกล้เคียงมาเป็นเวลาช้านาน มีนักปราชญืชาวยิวหลายท่านพยากรณ์ว่า วันหนึ่งข้างหน้าจะมีพระบุตรของพระเจ้าเสด็จลงมาปลดแอกชาวยิวให้ได้รับอิสระภาพในที่สุดวันนั้นก็มาถึง เมื่อพระเยซูประสูติที่หมู่บ้านเบธเลเฮม แคว้นยูดา มารดาของพระองค์ชื่อมาเรีย (ซึ่งเรารู้จักในนามแม่พระ) บิดาชื่อโยเซฟมีอาชีพเป็นช่างไม้ 
         พระเยซูทรงพระปรีชาสามารถมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์สามารถโต้ตอบกับพระชาวยิวในด้านศาสนาได้อย่างฉะฉาน ชีวิตในตอนต้นของพระองค์ดำเนินไปอย่างเรียบง่ายทรงมีอาชีพเป็นช่างไม้ช่วยบิดา จนพระชนมายุราว 30 พรรษา จึงเสด็จออกประกาศคำสอนและทรงรักษาคนป่วยประเภทต่าง ๆเช่น คนตาบอด ง่อยเปลี้ย ให้กลับเป็นปกติดังเดิม ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลกเช่นเดียวกับศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ

วันรัฐธรรมนูญ



วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปีเป็น วันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

     ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้น ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ไทยเชิงการเมืองการปกครอง เมื่อคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และสายพลเรือน จำนวน 99 คน โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ   รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้
·       พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
·      รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
·       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
·       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม
·       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
·       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
·       รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
·       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
·       ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
·       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
·       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
·       รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
·       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
·       รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
·       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
·       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
·       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
·       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

วันพ่อแห่งชาติ

 
     วันพ่อแห่งชาติ  5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย

      วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือวันพ่อแห่งชาติ มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์เป็นผู้ถวายการประสูติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการจำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่ พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” อันคำว่าโดย ธรรมนั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า ทศพิธราชธรรมหรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า ราชธรรม 10 ประการราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ ห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น พ่อตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้ “...บ้านเมืองของเราเป็นปึกแผ่นร่มเย็นปกติสุขมาช้านาน เพราะเรามีความยึดมั่นในชาติและต่างร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันทำหน้าที่โดยนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมของชาติเป็นเป้าหมายสำคัญสูงสุด ท่านทั้งหลายในสมาคมนี้ ตลอดจนคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงควรทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนไว้ให้กระจ่างและนำไปปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ด้วยความไม่ประมาท และด้วยความมีสติ…” (พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง)

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีลอยกระทง



               ลอยกระทง เป็นประเพณีที่สำคัญและเก่าแก่ของไทย ตรงกับวันขึ้น๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งอยู่ในช่วงน้ำหลาก มีที่มากจากพิธีกรรมเกี่ยวกับน้ำ ซึ่งปัจจัยสำคัญในวัฒนธรรมของไทย ถึงแม้จุดมุ่งหมายความเชื่อในวันลอยกระทงจะแตกต่างกัน แต่ความหมายที่เหมือนกันของประเพณีลอยกระทงก้อคือ การแสดงออกถึงความกตัญญู รู้จักสำนึกถึงคุณค่าของน้ำ ที่ช่วยให้เรามีชีวิตที่ดี นับเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่ดีงามอย่างหนึ่งของไทย ปัจจุบันประเพณีลอยกระทงได้ถูกดัดแปลงไปบ้าง การให้ความสำคัญของความหมายของวันลอยกระทง คุณค่า สาระและแนวทางที่พึ่งปฏิบัติน้อยลง จึงได้จัดทำหนังสือเกี่ยวกับวันลอยกระทงขึ้น เพื่อเผยแพร่ ความหมาย คุณค่าสาระ แนวปฏิบัติ ตลอดจนธรรมเนียมที่ถูกต้องเกี่ยวกับวันลอยกระทง เพื่อให้คนรุ่นต่อไปไปได้น้ำมาศึกษาค้นคว้าและหวังอย่ายิ่งว่าจะเป็นแนวทางการปฏิบัติและการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในประเพณีลอยกระทง ลอยกระทง เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณในช่วงวันเพ็ญ ๑๒ พระจันทร์เต็มดวง แสงจันทร์สอดส่องสว่างไสว แม่น้ำใสสะอาด เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง เพื่อแสดงถึงความเคารพและการสำนึกบุญคุณของแม่น้ำคงคา และอื่นๆ ตามคติความเชื่อของแต่ละภาคแต่ละท้องถิ่นโดยใช้เป็นสื่อการในการอธิฐาน และวันลอยกระทงที่จะมาถึง ในวันที่๒๑ พฤศจิกายน ขอเชิญให้ประชาชนไทยทั่วประเทศ ร่วมสืบทอดประเพณีลอยกระทงอันดีงามนี้ไว้เป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทยไม่ให้เสื่อมสูญ

ประเพณีทอดกฐิน



       หลังเทศกาลออกพรรษาของทุกปี จะมีเป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง ที่นิยมปฏิบัติกันมาช้านาน คือ การทอดกฐิน ประเพณีทอดกฐิน งานบุญทอดกฐิน การทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ถ้าภายหลังจากนี้ ไม่ถือว่าเป็นการทอดกฐิน  ประเพณีทอดกฐิน มีเรื่องเล่าในสมัยพุทธกาล ว่า พระภิกษุชาวปาไถยรัฐ (ปาวา) ผู้ทรงธุดงค์ จำนวน 30 รูป เดินทางไกลไปไม่ทันเข้าพรรษา เหลือทางอีกหกโยชน์จะถึงนครสาวัตถี จึงตกลงพักจำพรรษาที่เมืองสาเกตตลอดไตรมาส  เมื่อออกพรรษาจึงเดินทางไปเฝ้าพระบรมศาสดา ณ เชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี ภิกษุเหล่านั้นมีจีวรเก่า เปื้อนโคลน และเปียกชุ่มด้วยน้ำฝน ได้รับความลำบากตรากตรำมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงถือเป็นมูลเหตุ ทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุที่จำพรรษาครบ 3 เดือน กรานกฐินได้ และให้ได้รับอานิสงส์ 5 ประการคือ
1) เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
2) ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบ
3) ฉันคณะโภชน์ได้
4) ทรงอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา
5) จีวรอันเกิดขึ้นนั้นจะได้แก่พวกเธอ และได้ขยายเขตอานิสงส์ห้าอีกสี่เดือน นับแต่กรานกฐินแล้วจนถึงวันกฐินเดาะเรียกว่า มาติกาแปด คือ การกำหนดวันสิ้นสุดที่จะได้จีวร คือ กำหนดด้วยหลีกไป กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ กำหนดด้วยตกลงใจ กำหนดด้วยผ้าเสียหาย กำหนดด้วยได้ยินข่าว กำหนดด้วยสิ้นหวัง กำหนดด้วยล่วงเขต กำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน
      ดังนั้น เมื่อครบวันกำหนดกฐินเดาะแล้ว ภิกษุก็หมดสิทธิ์ต้องรักษาวินัยต่อไป พระสงฆ์จึงรับผ้ากฐินหลังออกพรรษาไปแล้ว หนึ่งเดือนได้ จึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้

My Profiles