วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีลอยกระทง



               ลอยกระทง เป็นประเพณีที่สำคัญและเก่าแก่ของไทย ตรงกับวันขึ้น๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งอยู่ในช่วงน้ำหลาก มีที่มากจากพิธีกรรมเกี่ยวกับน้ำ ซึ่งปัจจัยสำคัญในวัฒนธรรมของไทย ถึงแม้จุดมุ่งหมายความเชื่อในวันลอยกระทงจะแตกต่างกัน แต่ความหมายที่เหมือนกันของประเพณีลอยกระทงก้อคือ การแสดงออกถึงความกตัญญู รู้จักสำนึกถึงคุณค่าของน้ำ ที่ช่วยให้เรามีชีวิตที่ดี นับเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่ดีงามอย่างหนึ่งของไทย ปัจจุบันประเพณีลอยกระทงได้ถูกดัดแปลงไปบ้าง การให้ความสำคัญของความหมายของวันลอยกระทง คุณค่า สาระและแนวทางที่พึ่งปฏิบัติน้อยลง จึงได้จัดทำหนังสือเกี่ยวกับวันลอยกระทงขึ้น เพื่อเผยแพร่ ความหมาย คุณค่าสาระ แนวปฏิบัติ ตลอดจนธรรมเนียมที่ถูกต้องเกี่ยวกับวันลอยกระทง เพื่อให้คนรุ่นต่อไปไปได้น้ำมาศึกษาค้นคว้าและหวังอย่ายิ่งว่าจะเป็นแนวทางการปฏิบัติและการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในประเพณีลอยกระทง ลอยกระทง เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณในช่วงวันเพ็ญ ๑๒ พระจันทร์เต็มดวง แสงจันทร์สอดส่องสว่างไสว แม่น้ำใสสะอาด เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง เพื่อแสดงถึงความเคารพและการสำนึกบุญคุณของแม่น้ำคงคา และอื่นๆ ตามคติความเชื่อของแต่ละภาคแต่ละท้องถิ่นโดยใช้เป็นสื่อการในการอธิฐาน และวันลอยกระทงที่จะมาถึง ในวันที่๒๑ พฤศจิกายน ขอเชิญให้ประชาชนไทยทั่วประเทศ ร่วมสืบทอดประเพณีลอยกระทงอันดีงามนี้ไว้เป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทยไม่ให้เสื่อมสูญ

ประเพณีทอดกฐิน



       หลังเทศกาลออกพรรษาของทุกปี จะมีเป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง ที่นิยมปฏิบัติกันมาช้านาน คือ การทอดกฐิน ประเพณีทอดกฐิน งานบุญทอดกฐิน การทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ถ้าภายหลังจากนี้ ไม่ถือว่าเป็นการทอดกฐิน  ประเพณีทอดกฐิน มีเรื่องเล่าในสมัยพุทธกาล ว่า พระภิกษุชาวปาไถยรัฐ (ปาวา) ผู้ทรงธุดงค์ จำนวน 30 รูป เดินทางไกลไปไม่ทันเข้าพรรษา เหลือทางอีกหกโยชน์จะถึงนครสาวัตถี จึงตกลงพักจำพรรษาที่เมืองสาเกตตลอดไตรมาส  เมื่อออกพรรษาจึงเดินทางไปเฝ้าพระบรมศาสดา ณ เชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี ภิกษุเหล่านั้นมีจีวรเก่า เปื้อนโคลน และเปียกชุ่มด้วยน้ำฝน ได้รับความลำบากตรากตรำมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงถือเป็นมูลเหตุ ทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุที่จำพรรษาครบ 3 เดือน กรานกฐินได้ และให้ได้รับอานิสงส์ 5 ประการคือ
1) เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
2) ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบ
3) ฉันคณะโภชน์ได้
4) ทรงอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา
5) จีวรอันเกิดขึ้นนั้นจะได้แก่พวกเธอ และได้ขยายเขตอานิสงส์ห้าอีกสี่เดือน นับแต่กรานกฐินแล้วจนถึงวันกฐินเดาะเรียกว่า มาติกาแปด คือ การกำหนดวันสิ้นสุดที่จะได้จีวร คือ กำหนดด้วยหลีกไป กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ กำหนดด้วยตกลงใจ กำหนดด้วยผ้าเสียหาย กำหนดด้วยได้ยินข่าว กำหนดด้วยสิ้นหวัง กำหนดด้วยล่วงเขต กำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน
      ดังนั้น เมื่อครบวันกำหนดกฐินเดาะแล้ว ภิกษุก็หมดสิทธิ์ต้องรักษาวินัยต่อไป พระสงฆ์จึงรับผ้ากฐินหลังออกพรรษาไปแล้ว หนึ่งเดือนได้ จึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้

My Profiles